About
Q: การเห็นเกิดดับA: ท่านหมายถึง การเห็นความไม่เที่ยง เห็นความที่อาศัยเหตุเกิด เห็นเหตุการณ์เกิด เห็นผลของมัน ว่าผลที่เกิดขึ้น มีเหตุแห่งการเกิดQ: การเห็นอสุภะกรรมฐานA: คือ การพิจารณาเห็นว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นของไม่งาม เป็นของปฏิกูลQ: การตั้งอธิษฐานจิตA : หมายถึง การตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้าที่จะทำสิ่งใด สิ่งหนึ่งQ: การมักมากกับการเปิดเผยA: การทำความดี หากทำแล้วยังประกอบไปด้วยตัณหา คือ เป็นไปด้วยกับการมีภพ-สภาวะใหม่ มีความกำหนัดด้วยอำนาจของความเพลินและต้องการลาภปัจจัยสี่ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยกาม นั่นคือ ไม่ได้เจตนาดี หากเราทำความดี แล้วไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยตัณหา อดทนต่อคำด่า คำชมได้ ทำเช่นนี้ได้ คือดี ยิ่งเปิดเผยยิ่งเจริญQ: ฌาน 2 กับวิปัสสนาA: เมื่อเข้าสมาธิจิตสงบแล้ว สมถะและวิปัสสนา จะเข้ากันได้ พอดีกัน เสมอกัน นุ่มนวล ไม่ได้มีความคิด เมื่ออยู่คู่กันแล้วจะเป็นญาณ (ปัญญา) เกิดขึ้น ท่านจึงบอกว่า ฌาน 3 จะละเอียดลงไป แต่ถ้าสมถะมากกว่าวิปัสสนา มันจะง่วง ขี้เกียจ เหนื่อยๆ หากวิปัสสนามากเกินไป จะฟุ้งซ่านQ: ลูกจะย้ายออกไปอยู่เอง ควรตั้งจิตอย่างไร?A: ปัญหาคือ เราอยากอะไรแล้วเราไม่ได้สิ่งนั้น เราจึงเป็นทุกข์ เราควรทำใจ เห็นความไม่เที่ยงหรือพิจารณาว่า ดีกว่าเค้าไปทำไม่ดีอย่างอื่น คิดถึงก็ไปหาได้ พอเรารู้ว่าเราเจ็บจุดไหน เรามีตัณหา ราคะตรงนี้ จะถอนก็ถอนตรงนี้ ให้เอาความอยากออกไป เห็นความดีในสิ่งที่เป็นมรรค เราจะสามารถวางได้ ทำใจได้ Q: “อัตตา หะเว ชิตัง เสยโย” หมายความว่าอย่างไร?A: หมายความว่า “ตนนั่นแหละชนะตนได้นั้นประเสริฐ การชนะตนนั่นแหละดีกว่า” คำว่า “ชนะตน” ในที่นี้ หมายถึง ชนะกิเลสหมดแล้ว คือ เป็นพระอรหันต์แล้ว เพราะกิเลสหมดไปแล้ว ไม่มีรากที่เป็นอวิชชาแล้ว และจะไม่กลับกำเริบได้อีก Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
53m 3s · Dec 10, 2022
© 2022 Acast AB (OG)