Episode image

พระวินัยที่ญาติโยมควรทราบ| ปวารณา และกัปปิยโวหาร [6543-7q]

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)

Episode   ·  0 Play

Episode  ·  54:07  ·  Oct 29, 2022

About

Q: การปวารณา มี 2 แบบA: แบบที่ 1) พระสงฆ์ปวารณากันเอง คือ เปิดโอกาสให้พระตักเตือนกันได้ โดยถือเอาวันออกพรรรษาเป็นวันปวารณา แบบที่ 2) คฤหัสถ์ปวารณากับพระภิกษุ คือ ออกตัวให้พระภิกษุขอปัจจัยสี่ ที่เหมาะสม (กับปิยะ) ควรแก่สมณะจะบริโภค และสามารถกำหนดถึงสิ่งที่ท่านจะขอ รวมถึงควรกำหนดมูลค่าไว้ด้วยQ: การถวาย มี 2 แบบA: พระสงฆ์เป็นทั้งอาหุเนยยะบุคคล และทักขิเณยยบุคคล / “ทักขิเณยยบุคคล” คือ บุคคลผู้ควรรับทักษิณาทาน เช่น ญาติโยมจะทำบุญอุทิศให้กับพ่อแม่ที่ล่วงลับไป ก็จะทำอาหารสิ่งที่พ่อแม่ชอบทาน นำไปถวายพระ ไม่ว่าชอบทานหรือไม่ท่านก็รับ / “อาหุเนยยะบุคคล” พ่อแม่และพระสงฆ์ เป็นอาหุเนยยะบุคคล คือ หากพ่อแม่ยังอยู่ท่านชอบทานอะไร เราก็ทำให้ท่านทานได้เลยหรือหากถวายพระสงฆ์ เราก็จัดหาให้เหมาะสมกับที่ท่านจะกินจะใช้Q: ความหมายของคำว่า “กัปปิยโวหาร”?A: กัปปิยโวหาร แปลว่า คำพูดที่จะทำให้เหมาะสม ใช้ระหว่างพระและญาติโยมQ: ไวยาวัจกร?A: คือ ผู้ทำการแทนพระในกิจที่พระทำไม่ได้ โดยผู้ที่จะเป็นไวยาวัจกร ก็ต้องปวารณากับพระด้วยว่ายินดีทำหน้าที่เป็นไวยาวัจกรให้ท่าน แล้วจึงจะกำหนดให้บุคคลนั้นเป็นไวยาวัจกรได้Q: พระสงฆ์ครอบครองทรัพย์ได้หรือไม่?A: การมาบวชนั้นเพื่อเป็นการกำจัดกิเลส สละโภคะน้อย ใหญ่ ไม่ยินดีในการรับเงิน ทอง ที่ดิน ทาสหญิงหรือชาย หากท่านมีทรัพย์มาตั้งแต่ก่อนบวชแล้ว ก็ให้ตั้งจิตว่าจะสละทรัพย์เหล่านี้Q: กัปปิยโวหารเมื่อนิมนต์พระไปฉันที่บ้านA: กล่าวแค่ว่า นิมนต์ไปฉันเช้าหรือฉันเพล เวลาไหน ไปรับหรือให้มาเอง ไม่ต้องบอกว่าจะถวายอะไร เมนูไหน ถึงแม้จะปวารณาว่าให้พระขอได้ ว่าต้องการฉันอะไร พระก็ไม่ควรขอ แต่หากเป็นกรณีที่พระเจ็บป่วย ขอเพื่อระงับเวทนา แม้ผู้ถูกขอไม่ได้ปวารณาไว้ ก็ควรให้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

54m 7s  ·  Oct 29, 2022

© 2022 Acast AB (OG)