About
Q : อุปกิเลส 16 ? A : ใน “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” ที่ท่านได้สอนไว้ แบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ     1.) ส่วนที่เป็นฝ่ายดำ คือ "อวิชชา" (ทุกข์, สมุทัย) สิ่งที่ควรทำคือ เราต้องละ ไม่ทำ และกำจัดสิ่งที่ไม่ดีออก ลักษณะของมันคือ มันจะเหนียวหนืด คืบคลานไป ท่านจะใช้คำว่า “ตัณหา” พอมันหนืด ยืดยาน คืบคลาน ก็จะเกิดความเศร้าหมอง คือ “กิเลส” ซึ่งกิเลสเครื่องเศร้าหมองจะแยกได้เป็น 3 กองใหญ่ ๆ คือ ราคะ (หิว), โทสะ (ร้อน), โมหะ (มืด/ ไม่แจ่มแจ้ง) ซึ่งจะแบ่งย่อยลงไปอีกได้เป็น 16 อย่าง คือ อุปกิเลส 16      2.) ส่วนดี ที่เป็นฝ่ายขาว (กุศล, นิโรธ, มรรค เราต้องทำให้มี ถ้ามีอยู่ต้องทำให้เจริญ)Q : อุปกิเลส 16 สัมพันธ์กับทาน ศีล ภาวนา หรือไม่ ? A : อุปกิเลสจะอยู่ในส่วนของฝ่ายดำ/อกุศล เจาะจงลงคือ ส่วนของสมุทัย คือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นเทือกเดียวกันกับกิเลส ตัณหา อวิชชา ส่วนที่จะตรงข้ามกันคือฝ่ายขาว คือฝ่ายกุศล ฝ่ายธรรมะ ก็จะมีนิโรธและมรรค เกี่ยวข้องกันในลักษณะที่แปรผกผันกันคือ ถ้ามีทาน ศีล ภาวนามาก อุปกิเลส 16 อย่างนี้ ตัณหา อวิชชา ก็ลดลง  Q : ผู้ที่ประพฤติธรรมแต่ยังมีอุปกิเลส 16 จะไม่บรรลุมรรคผลและไปสู่อบาย ? A : ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ เปรียบดังการสร้างบ้าน หากไม่มีฐานรากแล้วจะไปทำหลังคาเลยมันเป็นไปไม่ได้ มรรคผลนิพพานก็เช่นกัน เหตุ เงื่อนไข ปัจจัยมีอยู่ จะบรรลุนิพพานได้ ก็ต้องกำจัดอุปกิเลส 16 เพราะมันเป็นความเศร้าหมองของจิต Q : ท้อแท้เพราะปฏิบัติไม่ก้าวหน้า A : ก้าวหน้าหรือไม่ก้าวหน้าอยู่ที่เหตุ เงื่อนไข ปัจจัย การที่เราท้อแท้ แสดงว่า เรามี “ความอยาก” ความอยากนี้เป็นอกุศล ความเพียรเรามีอยู่ เพียงแค่สมาธิยังไม่เกิด การจะบรรลุธรรมได้เร็วหรือช้านั้น ขึ้นอยู่กับว่าอินทรีย์แก่กล้ามากแค่ไหน หากอินทรีย์แก่กล้า ก็จะบรรลุธรรมได้เร็ว อินทรีย์ยังอ่อน ก็จะบรรลุธรรมได้ช้า Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
55m 59s · Dec 9, 2023
© 2023 Acast AB (OG)