Episode image

เครื่องเศร้าหมองของจิต [6644-7q]

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)

Episode   ·  0 Play

Episode  ·  57:01  ·  Nov 4, 2023

About

Q : ช่องทางการรับฟังรายการธรรมะรับอรุณทางสถานีวิทยุ A : ระบบของวิทยุ การออกอากาศ มี 2 แบบ คือ 1. AM 891 kHz. 2. FM เป็นคลื่นของแต่ละจังหวัด สำหรับคลื่น 92.5 รับฟังได้เฉพาะ กทม. และจังหวัดใกล้เคียง บางจังหวัดสามารถรับได้ทั้ง AM/FM บางจังหวัด FM ก็อาจจะจัดเป็นรายการของท้องถิ่น / ระบบออนไลน์ สามารถรับฟังได้ ผ่านทางเว็บไซต์ https://panya.org, Youtube หรือแอปพลิเคชั่น Podcast หรือ Spotify ได้ Q : อธิบายเรื่องอุปกิเลส : อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ มัจฉริยะ A : กิเลส หมายถึง เครื่องเศร้าหมองของจิต จิตของเราเมื่อมีเครื่องเศร้าหมองเกิดขึ้น การรับรู้อื่น ๆ ก็จะผิดเพี้ยนไปจากที่ควรเป็น แบ่งเป็นกองใหญ่ ๆ 3 กอง ได้แก่ ราคะ คือ ความหิว, โทสะ คือ ความร้อน ความโกรธ, โมหะ คือ ความมืด ความไม่เข้าใจ มึน ๆ ตึง ๆ Q : อุปนาหะ ? A : อุปนาหะ คือ การผูกโกรธ เก็บความโกรธเอาไว้ ผูกเวรเอาไว้ เช่น ขณะขับรถแล้วมีคนขับปาดหน้า ก็ผูกโกรธไว้แล้วไปปาดหน้าเขาคืน /การกระทำคืน ที่ถูก ต้องเหมาะสม คือ ควรอดทน มีเมตตา อุเบกขา การที่เราไปกระทำตอบเขา นั่นคือ จิตเรามีความเศร้าหมอง เป็นส่วนเดียวกันกับ โกธะ, โทสะ ซึ่งถ้ามันยังไม่ระงับ ระดับของการผูกโกรธก็จะเพิ่มขึ้น ขยายขึ้นไป โดย สายของความโกรธ เริ่มจาก “ปฏิฆะ” คือ ความขัดเคืองใจ หากเราหยุดไม่ได้ ก็จะขยายไปเป็น “โกธะ” คือ ความโกรธ ขยายขึ้นไปอีกเป็น “โทสะ” คือ คิดประทุษร้ายให้เขาไม่ได้ดี ขยายขึ้นไปอีกเป็น “อุปนาหะ” คือ การผูกเวร ขยายขึ้นไปต่อไปอีก เป็น “พยาบาท” ซึ่งจุดที่จะเริ่มเป็นกรรมแล้ว คือตั้งแต่โกธะขึ้นมา จะเริ่มเป็นการกระทำที่ไม่ดีเป็น “อกุศลกรรม” Q : มักขะ ? A : มักขะ แปลว่า ไม่รู้คุณ ความลบหลู่คุณท่าน (ตรงข้ามกับกตัญญู) มีอยู่ 2 นัยยะ คือ นัยยะ 1. ยกตัวอย่างเช่น เห็นเขาให้ทานแล้วลบหลู่ในทานของเขา นัยยะ 2. คนอื่นทำคุณประโยชน์ให้เราแต่เราไม่เห็นคุณความดีของเขา Q : ปลาสะ | สาเถยยะ ? A : “ปลาสะ” คือ ยกตนเทียบเท่า, ตีเสมอ “สาเถยะ” คือ การยกตัว โอ้อวด เป็นกองของโมหะ ตรงข้ามกันกับความมักน้อย/ถ่อมตัว/ สันโดษ วิธีแก้ คือ ให้เป็นผู้มีความกตัญญู Q : มัจฉริยะ ? A : “มัจฉริยะ” แปลว่า ความตระหนี่หวงกั้น ลักษณะ คือ มีอยู่แต่ไม่ให้ มีก็เหมือนไม่มี ตระหนี่เพราะกลัวหมด กลัวพร่อง วิธีแก้ คือ ให้มีเมตตา มีกรุณาและให้ทาน ให้โดยไม่ต้องกลัวหมด เมตตา มุทิตา กรุณาและอุเบกขา ยิ่งให้ยิ่งได้ ไม่มีหมด ไม่มีประมาณ การฝึกเช่นนี้ จะเป็นการกำจัดความตระหนี่ได้ Q : ยิ่งให้ยิ่งได้ A : การแผ่เมตตา แผ่บุญ เหมือนกับเราจุดเทียนแล้วคนอื่นมาขอต่อเทียน เป็นลักษณะของบุญที่เป็นในทางนาม เป็นบุญกิริยา คนที่มาอนุโมทนาบุญกับเรา เขาได้บุญจากการอนุโมทนา การที่เราแผ่เมตตาให้เขา เขาก็ได้บุญจากเรา เหมือนจุดเทียน เขามีเทียนของเขา มาต่อเทียนจากเราแต่เทียนของเราก็ไม่ได้ดับไป แสงสว่างมันก็จะสืบต่อเนื่องกันต่อไปและต่อไป Q : สารัมภะ ? A : สารัมภะ คือ ความแข่งดี แก่งแย่งชิงดีให้ความดีอีกฝ่ายเสียไป ให้เสียศักดิ์ศรี ให้ตัวเองดีขึ้นมา ยื้อแย่งเอามาโดยปราศจากกติกา ปราศจากความยุติธรรม เป็นความแข่งดีที่ไม่ดีเพราะว่า มีอกุศลเข้ามาเกี่ยวข้อง เราต้องมีความสันโดษ พอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ พอใจในสิ่งที่เขาเป็น ไม่ได้ลบหลู่คุณเขา ไม่ได้เอาความดีของเราไปตีเสมอเขา แต่พอใจในสิ่งที่เรามี ไม่ตระหนี่หวงกั้น แล้วเราก็ทำความดีของเราให้เต็มที่โดยไม่คิดว่าจะไปแข่งขันกับใคร ก็จะเป็นการแข่งดี ในนัยยะ ที่เป็นกุศลธรรม  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

57m 1s  ·  Nov 4, 2023

© 2023 Acast AB (OG)