Episode image

โทษของการเกิด [6643-7q]

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)

Episode   ·  0 Play

Episode  ·  57:51  ·  Oct 28, 2023

About

Q : แม้ว่าชาตินี้เราภาวนาเพื่อสุคติภูมิ แต่ถ้ากรรมเก่ากำหนดไว้แล้ว ว่าเราจะต้องเกิดในอบายภูมิ จะเป็นเช่นนั้นเลยหรือไม่? A : ไม่แน่ว่าจะเป็นเช่นนั้น แต่สิ่งที่แน่นอนเลย มีอยู่ คือ หากเราปฏิบัติตามมรรค 8 แล้วได้ “โสดาปฎิผล” เราจะไม่มีทางไปเกิดในอบาย (ไม่เกิดในนรก กำเนิดเดรัชฉาน เปรตวิสัย คือ เกิดตั้งแต่มนุษย์ขึ้นไป) จะปิดประตูอบายภูมิและจะเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติหรือต่ำกว่า 7 ชาติ นอกเหนือจากนี้แล้ว การเกิดล้วนไม่แน่นอนทั้งสิ้น ความเชื่อที่ว่า ทุกอย่างเกิดจากกรรมเก่าอย่างเดียว กรรมเก่ากำหนดไว้แล้ว เป็น “มิจฉาทิฐิ” ท่านอุปมาไว้ เปรียบดังเกลือ (ความชั่ว) 1 ก้อน ละลายในน้ำ (น้ำคือความดี) 1 แก้ว มีน้ำเป็นตัวแปร หากน้ำมากผล (ความเค็มของเกลือ) ก็จะเบาบาง หากน้ำน้อยผลก็จะหนักคือเค็มมาก ผล คือ “วิบาก” บางทีให้ผลเร็ว บางทีให้ผลช้า บางทีให้ผลตัดรอน ให้เราตั้งมั่นในความดี เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ตั้งมั่นทำความดีต่อไปQ : คนเราเมื่อตายไป แล้วดวงจิตที่ออกจากร่างของเราจะไปเกิดที่ไหน? A : มี 2 แบบ แบบที่ไปเกิดก็มี แบบที่ไม่ไปเกิดก็มี การที่จะไปเกิดเป็นอะไรนั้น มันอยู่ที่เหตุ ว่าเราทำอาสวะแบบไหน จิตสะสมกิเลสไว้แบบไหน ก็จะทำให้ไปเกิดเป็นแบบนั้น กรณีที่ไม่ไปเกิด เป็นกรณีของพระพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์ ที่ท่านละอาสวะได้หมดสิ้นแล้วและจะไม่กลับมาเกิดอีกเลย อีกทั้ง เหล่าพระอริยะบุคคล ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านจะกลับมาเกิดอีกก็จริง แต่ไม่เกิน 7 ชาติ เพราะอาสวะท่านเบาบางแล้ว ให้เราตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ให้รักษาจิตทำความดีอยู่เสมอ อย่างน้อยถ้าจะต้องกลับมาเกิดอีก ก็จะเกิดในที่ที่ดี อย่าไปหวังเพียงจิตสุดท้าย เพราะนั่นเป็นการประมาทเกินไปQ : ถ้าเรามักจะจดจำแต่เรื่องร้าย ๆ เราควรทำอย่างไร ? A : คำว่าจดจำ ในที่นี้ คือ ระลึกได้ ท่านเปรียบไว้กับเงาหรือต้นไม้หรือภูเขาที่พอพระอาทิตย์จะตกแล้ว เงาจะทอดยาวไปไกล คือ ถ้าเราทำความดีมา พอเราแก่ตัวลงไป เราก็จะจดจำความดีนั้นได้ เช่นเดียวกัน ถ้าเราทำความชั่วมา เราก็จะจดจำความชั่วนั้นได้ ขึ้นอยู่กับว่า คุณสะสมอะไรไว้มาก เพราะฉะนั้น เราควรให้ทานเพื่อให้จิตใจสละออก ละความตระหนี่ ทำให้จิตใจเราดีขึ้น เป็นการสั่งสมกุศลธรรมใหม่ลงไป ทำให้จิตเราตั้งอยู่ในฝั่งกุศลได้Q : ทำอย่างไรจึงจะกำจัดความริษยาในใจของเราไปได้? A : คำว่าอิจฉาริษยา ว่าด้วยความ “อรติ” คือ ไม่ยินดีกับที่เขาได้ดี ไม่พอใจกับเขา วิธีที่จะจัดการความรู้สึกตรงนี้ ก็คือ ให้เรายินดีกับเขา พอใจที่เขาได้ดี เราก็สุขไปด้วย ลักษณะอารมณ์อย่างนี้ เรียกว่า “มุทิตา” / ความเกลียดเกิดจากความเกลียด เราจะแก้ตรงนี้ได้ ต้องใช้ มุทิตา ก็คือ ยินดีกับสิ่งที่เขามี เขาได้ ท่านอุปมาไว้ดัง ญาติ ที่ห่างเหินกันไปนาน ไม่ได้เจอกันหลายสิบปี แล้วได้เจอกันมันจะดีใจมาก ให้ยินดีแบบนี้ ซึ่งแม้เขาอาจจะไม่ได้เอาอะไรมาฝากเราเลย แต่เมื่อเราเจอเขาเราก็ยินดีแล้ว เช่นนี้จะจัดการความริษยาได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

57m 51s  ·  Oct 28, 2023

© 2023 Acast AB (OG)